วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557


การปฏิรูปศาสนา (Reformation)

                 การปฏิรูปศาสนาเริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1500 จุดเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาเกิดจากนักมนุษย์นิยมในดินแดนยุโรปกลุ่มหนึ่งได้วิพากย์ถึงความเสื่อมของสถาบันศาสนา และเสนอแนวทางแก้ไข แต่ศาสนจักรไม่ยอมรับความคิดและข้อเสนอแนะ จึงเกิดความแตกแยกและนำไปสู่การปฏิรูปศาสนา



สาเหตุของการปฏิรูปศาสนา

                  ปลายสมัยกลาง ศาสนาคริสต์ถึงแก่ความเสื่อมเนื่องจากประชาชนเบื่อหน่ายวิธีดำรงชีวิตด้วยความฟุ้งเฟ้อของพรและการซื้อขายตำแหน่งของพระชั้นผู้ใหญ่ นอกจากนี้กลุ่มชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นในดินแดนต่างๆ ในช่วงปลายสมัยฟิวดัลก็ดำเนินการต่อต้านอำนาจทางการเมืองของสันตะปาปาที่ครอบงำกษัตริย์และผู้ปกครองดินแดนต่างๆ ในยุโรป



                  การแสดงความคิดต่อต้านอำนาจของสันตะปาปาและคริสตจักรเริ่มขึ้นในดินแดนเยอรมณี ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังเสื่อมอำนาจและมีการก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมในแคว้นต่างๆ กลุ่มชาตินิยมเยอรมันได้วิพากย์วิธีการเรี่ยไรเงินของสันตะปาปาเพื่อนำเงินไปก่อสร้างวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ในกรุงโรม โดยิธี การขายบัตรไถ่บาปว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ผู้นำในการต่อต้านคือมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) นักบวชชาวเยอรมันซึ่งเป็นผู้ที่เคร่งศาสนาและเห็นว่าวิธีการจ่ายเงินเพื่อไถ่บาปเป็นสิ่งหลอกลวงประชาชน ใน ค.ศ. 1520 ลูเธอร์ ได้พิมพ์หนังสือเผยแพร่ความคิดต่อต้านพฤติกรรมของสันตะปาปาถึง 3 เล่ม แนวคิดของเขาได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เป็นเหตุให้สันตะปาปาลีโอที่ 10 (Leo X) ประกาศขับไล่เขาออกจากศาสนา และให้จักรวรรดิชาลล์ที่ 5 (Charles V) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ลงโทษลูเธอร์ว่าเป็นบุคคลนอกกฎหมาย แต่ลูเธอร์ได้รับการคุ้มครองจากผู้ปกครองแคว้นแซกซอนี (Saxony) ซึ่งมีแนวคิดแบบชาตินิยม จึงรอดพ้นจากการลงโทษ และสามารถเผยแผ่คริสต์ศษสนาตามแนวทางของเขา โดยการแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาเยอรมันและแยกเป็นนิกายใหม่ เรียกว่า โปรเตสแตนต์” (Protestant)




ผลกระทบของการปฏิรูปศาสนาต่อพัฒนาการของยุโรป

                            การประกาศแยกตัวของกลุ่มโปรเตสแตนด์ในดินแดนเยอรมณีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อพัฒนาการของยุโรป คือ เกิดการแตกแยกของศาสนาคริสต์ และการพัฒนารัฐชาติในยุโรป


ความแตกแยกของศาสนาคริสต์ ศาสนาคริสต์ถูกแบ่งแยกเป็น 2 นิกายใหญ่คือ
           1  นิกายโรมันคาทอลิกซึ่งมีสันตะปาปาเป็นประมุข มีศูนย์กลางอยู่ที่นครรัฐวาติกันในกรุงโรม และยังคงแพร่หลายในดินแดนฝรั่งเศส สเปน และโปรตุเกส

          2 กลุ่มต่อต้านอำนาจของสันตะปาปา เรียกว่าพวกโปรเตสแตนต์ ซึ่งแตกออกเป็นนิกายย่อยๆ จำนวนมาก ที่สำคัญ ได้แก่ นิกายลูเธอร์ (Lutheranism) ซึ่งแพร่หลายในดินแดนเยอรมณีและยึดถือแนวคิดของมาร์ติน ลูเธอร์ นิกายแองกลิคัน (Anglican Church) หรือนิกายอังกฤษ (Church of England) ซึ่งแพร่หลายในเกาะอังกฤษ และนิกายแคลวิน (Calvinism) ซึ่งแพร่หลายในสวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ บางส่วนของเนเธอร์แลนด์ เยอรมณี และโปแลนด์ การที่ศษสนาคริสต์แตกแยกเป็นหลายนิกาย ทำให้แต่ละนิกายแข่งขันกันเผยแผ่ศาสนาตามความเชื่อของตนในดินแดนต่างๆ นอกทวีปยุโรป เช่น อเมริกา เอเชีย และแอฟริกา



มาร์ติน ลูเธอร์ ชาวเยอร์มัน ผู้ซึ่งริเริ่มการปฎิวัติ 
เพื่อทำให้คริสตศาสนาที่เขาศรัทธา กลับมาศักดิ์สิทธิ์ดั่งเดิม









การปฏิรูปศาสนานิกายโปเตสสแตน (Protestant Reformation)

                     การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเสร็จสิ้นลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กระแสใหญ่ๆคือ

·         การปฏิรูปภายนอก  ที่แบ่งศาสนาคริสต์ออกเป็น 2 นิกายคือ โรมันคาทอลิก และโปรเตสแตนต์
·         การปฏิรูปภายใน  ที่แก้ไขความเสื่อมโทรมของศาสนา และสถาบันสันตะปาปา เพื่อต่อสู้ไม่ให้ชาวยุโรปหันไปนิยม    นิกายโปแตสแตนต์ที่เกิดขึ้นใหม่


การทำสัตยาบันในสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย






จุดเริ่มต้นขบวนการปฏิรูปศาสนา

                         ผลงานวิทยานิพนธ์ เทวนคร” (City of God)ของออกัสตินแห่งฮิปโป ที่เป็นแรงบันดาลใจในหมู่นักปฏิรูปขบวนการฮุสไซท์ (The Hussites) กลุ่มผู้ติดตามจอห์น ฮุส (John Huss) ชื่อหลักการ Utraquism คือ ฆราวาสมีสิทธิเช่นเดียวกับสงฆ์ในพิธีรับศีลมหาสนิท ที่จะรับทั้งขนมปังและเหล้า โดยในสมัยนั้นฆราวาสจะรับได้เพียงขนมปังและน้ำเท่านั้น ซึ่งเบื้องหลังคือการกดดันให้สถาบันสันตะปาปา และคณะกรรมาธิการศาสนา (Council Authority) ยอมรับว่าทั้งบรรพชิตและฆราวาสนั้นเท่าเทียมกัน และพระคัมภีร์เท่านั้นที่มีอำนาจสูงสุดในศาสนกิจ โดยภายหลังการปฏิรูปศาสนากลุ่มฮัสไซท์ได้เข้ารวมกับพวกติดตามลูเทอร์
                       ขบวนการลอล์ลาร์ด (The Lollard Movement) ของจอห์น ไวคลิฟฟ์ (John Wycliffe) ที่เน้นการปรับปรุงศาสนาให้เข้ากับความต้องการของสามัญชน เน้นการเทศนาสั่งสอนมากกว่าการรับศีล ต่อต้านการสารภาพบาป การสวดมนต์ให้แก่ผู้สิ้นชีวิตแล้ว การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ การเชื่อเครื่องรางของขลัง และเริ่มการใช้คัมภีร์ไบเบิลที่แปลเป็นภาษาพื้นเมือง เพื่อให้ชาวบ้านได้ศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตนเองแทนการพึ่งพิงพระที่ใช้พระคัมภีร์ภาษาละติน โดยขบวนการลอล์ลาร์ดนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการปฏิรูปศาสนาระยะแรกภายใต้มาร์ติน ลูเทอร์

                     *** ดังนั้นพบว่าขบวนการปฏิรูปศาสนานั้นได้มีการเริ่มมาจากความไม่พอใจของสงฆ์ที่มีธรรมะ และสามัญชนที่ผิดหวังในสถาบันศาสนา ประกอบกับมีการผันแปรทางการเมือง ทัศนคติทำให้ผู้ที่ปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมในศาสนากล้าที่จะประกาศตนออกจากสถาบันศาสนา โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อชะตากรรมแบบ ลอยแพของสังคมในยุคกลางอีกต่อไป ***





การปฏิรูปศาสนา Reformation ในเยอรมนีโดย มาติน ลูเธอร์ ฉบับย่อ

การปฏิรูปศาสนา Reformation
         เกิดขึ้นในเยอรมนีในตอนต้นศตวรรษที่ 16 โดยนักมนุษยนิยม ที่ไม่พอใจต่อบทบาทของศาสนจักร การปฏิรูปศาสนามีผลทำให้สิ้นสุดความเป็นเอกภาพทางศาสนา

·         สาเหตุทางการศาสนา
1.      ความเสื่อมของศาสนจักรในปลาย ศตวรรษที่ 14 ถึงตอนต้นศตวรรษที่ 15
2.      พระมีความมั่งคั่งร่ำรวย มีที่ดินมากเกินไป พระประพฤติผิดศีลธรรมไม่เคร่งครัด
3.      การไม่พอใจในการซื้อตำแหน่งของพระ พระที่ได้รับตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไม่สมบูรณ์
4.      มุ่งพิธีกรรมมากเกินไป พระเรียกเก็บเงินที่ได้จากการประกอบพิธีทางศาสนามากเกินไป
5.      การขายไถ่บาป ซึ่งเป็นการค้ามากกว่าศรัทธา

·         สาเหตุทางการเมือง
1.      สันตะปาปาสนใจเรื่องทางโลกมากกว่าทางศาสนา เช่นเป็นผู้นำทัพเข้าสู่สงคราม
2.      กษัตริย์ต้องการขจัดอำนาจอิทธิพลของสันตะปาปา เพื่อหาผลประโยชน์จากที่ดินของวัด


·         สาเหตุทางเศรษฐกิจ
1.      ชนชั้นกลางให้การสนับสนุนการปฏิรูปศาสนา เพื่อยกเลิกระเบียบต่าง ๆ ที่ล้าสมัยให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสมัยใหม่
2.      สันตะปาปาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ทำให้ปนระชาชนไม่พอใจ


·         ด้านแนวคิด
1.      เกิดแนวคิดแบบมนุษยนิยม (Humanism) กล้าแสดงความคิด กล้ากระทำในสิงที่เห็นว่าเหมาะสม
2.      แนวคิดแบบปัจเจกชน (Individualism) ต้องการมีอิสระสภาพ แสวงหาความจริงด้วยสติปัญญาของตนเอง ไม่ใช้การชี้นำของศาสนา
3.      ผลจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของจอห์น กูเตนเบอร์ก สิ่งพิมพ์ทั้งหลายและคำภีร์ไบเบิลถูกเผยแพร่ไปสู่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีความคิดและวิจารณญาณมากขึ้น




สาเหตุปัจจุบันจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาของมาติน ลูเธอร์
1.      การเรียกเก็บเงินจากสันตะปาปาลีโอที่ 10  โดยการขายใบบุญไถ่บาปเพื่อนำไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
2.      ลูเธอร์ เขียนคำประท้วง 95 ข้อ ( The 95 Theses) เพื่อชี้ให้เห็นว่า ไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี  ให้สถาปนาเยอรมนีเป็นศูนย์กลางทางศาสนา
3.      สันตะปาปาประกาศบัพพาชณียกรรมลูเธอร์
4.      พระเจ้าชาร์ลที่ 5 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ลงโทษลูเธอร์ แต่ลูเธอร์ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าชายเฟเดอร์ริค และผู้ครองแคว้นอื่น ๆ ของเยอรมันนี

หลักการของลูเธอร์
1.      การช่วยเหลือให้พ้นภัยโดยความศรัทธา ไม่ใช่อาศัยการทำงาน พระเจ้ากระทำทุกอย่างถูกต้องดีงาม อันจะนำมนุษย์ไปสู่ความสุข
2.      มนุษย์สามารถศึกษาคำภีร์ไบเบิลได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องมีพระเป็นสื่อกลางเชื่อมระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์
3.      ทุกคนที่เชื่อในพระเจ้าถือว่าเป็นพระโดยไม่จำเป็นต้องบวชหรือเข้าวัด
      ลูเธอร์ประกาศลัทธิลูเธอแรน (Lutherianism) ในปี ค.ศ.1530  ลัทธิต่อต้านศาสนาที่โรม เรียกว่า Protesstant แนวความคิดถูกแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว และเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาไปทั่วยุโรป





ปฏิกิริยาตอบโต้ของศาสนจักรโรมันคาธอลิก
1.      การจัดตั้งสมาคมเยซูอิทซ์ ให้ศึกษาให้แก่บุตรหลานชาวคาธอลิก เพื่อจะได้ไม่เปลี่ยนไปเป็น Protesstant
2.      การจัดตั้งศาลพิเศษทางศาสนา เพื่อต่อต้านการกระทำของพวกนอกรีต มีการลงโทษอย่างรุนแรง เช่นการเผาทั้งเป็น
3.      การประชุมทางศาสนาที่เมืองเทรนท์ มีผลดังนี้คือ
สันตะปาปาคือประมุขของศาสนา
คำภีร์ไบเบิลต้องเขียนเป็นภาษาละติน
ห้ามขายตำแหน่งทางศาสนาและห้ามขายใบไถ่บาป
ไม่ให้คนที่ไม่มีความรู้มารับตำแหน่งราชาคณะ
ขึ้นบัญชีหนังสือต้องห้ามซึ่งเป็นของพวกนอกศาสนา หนังสือต้องห้ามจะถูกทำลาย ผู้แต่งจะถูกเผาทั้งเป็น






ผลของการปฏิรูปศาสนา

·         ทางการเมือง
               การปฏิรูปศาสนาได้ทำให้พวกที่ไม่ต้องการระเบียบแบบแผน และพวกที่มีความคิดเห็นรุนแรงทางศาสนาก่อการจลาจลวุ่นวายขึ้นเรียกว่า "กบฏชาวนาในปี ค.ศ. 1525 ที่โบฮีเมีย มีทั้งกลุ่มอัศวินต่อสู้กับเจ้านายของตน และพวกชาวนาที่ก่อการปฏิวัติต่อเจ้าของที่ดินโดยต่างยื่นข้อเสนอเรียกร้องสิทธิของตน และกำหนดกฎเกณฑ์เอาตามใจชอบ บ้างก็ขอเสรีภาพในการถือศาสนา ดังนั้นลูเทอร์จึงได้ลุกขึ้นมาสอนให้ประชาชนเคารพประมุข และกฎหมายของรัฐ และต่อต้านการจลาจล โดยถือว่าประมุขของรัฐมีอำนาจอันชอบธรรมในสายตาของศาสนา ที่จะดำเนินการเด็ดขาดกับขบวนการเหล่านี้ เพราะฉะนั้นคำสอนของลักธิลูเทอรันส่งเสริมอำนาจชนชั้นปกครอง



·         ทางศาสนา
เกิดการปฏิรูปศาสนาไปทั่วยุโรปโดยแบ่งออกเป็น

1.       แยกนิกายเป็น โปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิก
2.       การปฏิรูปภายในนิกายโรมันคาทอลิกเอง เช่น เกิดคณะเยสุอิต (The Jesuits) ที่เน้นการศึกษาวิทยาการใหม่เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สภาสังคายนาแห่งเทรนต์ (1545-1563) ซึ่งต้องการแก้ไขข้อติดเตียนของขบวนการปฏิรูปศาสนาโปรเตสแตนต์ทั้งหมด แต่ยังเชื่อว่าสิทธิอำนาจมาจากพระคัมภีร์และขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่คริสตจักรได้รับสืบทอดมาจากเปโตร และยอมรับอำนาจของสันตะปาปาว่ายังมีอยู่ ผลการปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้สามารถป้องการการขยายตัวของความนิยมในนิกายโปรเตสแตนต์อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าสันตะปาปาต้องเสียอำนาจในยุโรปไปมาก แต่ก็ยังสามารถรักษาอิทธิพลทางจิตใจเหนือประชากรจำนวนมากของโลกตะวันตกไว้ได้ และสามารถฟื้นฟูความศักดิ์สิทธิของโรมได้จนถึงปัจจุบัน