การปฏิรูปศาสนา (Reformation)
การปฏิรูปศาสนาเริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1500
จุดเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาเกิดจากนักมนุษย์นิยมในดินแดนยุโรปกลุ่มหนึ่งได้วิพากย์ถึงความเสื่อมของสถาบันศาสนา
และเสนอแนวทางแก้ไข แต่ศาสนจักรไม่ยอมรับความคิดและข้อเสนอแนะ จึงเกิดความแตกแยกและนำไปสู่การปฏิรูปศาสนา
สาเหตุของการปฏิรูปศาสนา
ปลายสมัยกลาง
ศาสนาคริสต์ถึงแก่ความเสื่อมเนื่องจากประชาชนเบื่อหน่ายวิธีดำรงชีวิตด้วยความฟุ้งเฟ้อของพรและการซื้อขายตำแหน่งของพระชั้นผู้ใหญ่
นอกจากนี้กลุ่มชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นในดินแดนต่างๆ ในช่วงปลายสมัยฟิวดัลก็ดำเนินการต่อต้านอำนาจทางการเมืองของสันตะปาปาที่ครอบงำกษัตริย์และผู้ปกครองดินแดนต่างๆ
ในยุโรป
การแสดงความคิดต่อต้านอำนาจของสันตะปาปาและคริสตจักรเริ่มขึ้นในดินแดนเยอรมณี
ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังเสื่อมอำนาจและมีการก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมในแคว้นต่างๆ
กลุ่มชาตินิยมเยอรมันได้วิพากย์วิธีการเรี่ยไรเงินของสันตะปาปาเพื่อนำเงินไปก่อสร้างวิหารเซนต์ปีเตอร์
(St. Peter) ในกรุงโรม โดยิธี การขายบัตรไถ่บาปว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ผู้นำในการต่อต้านคือมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) นักบวชชาวเยอรมันซึ่งเป็นผู้ที่เคร่งศาสนาและเห็นว่าวิธีการจ่ายเงินเพื่อไถ่บาปเป็นสิ่งหลอกลวงประชาชน
ใน ค.ศ. 1520 ลูเธอร์
ได้พิมพ์หนังสือเผยแพร่ความคิดต่อต้านพฤติกรรมของสันตะปาปาถึง 3
เล่ม แนวคิดของเขาได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เป็นเหตุให้สันตะปาปาลีโอที่ 10
(Leo X) ประกาศขับไล่เขาออกจากศาสนา
และให้จักรวรรดิชาลล์ที่ 5 (Charles V) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ลงโทษลูเธอร์ว่าเป็นบุคคลนอกกฎหมาย
แต่ลูเธอร์ได้รับการคุ้มครองจากผู้ปกครองแคว้นแซกซอนี (Saxony) ซึ่งมีแนวคิดแบบชาตินิยม
จึงรอดพ้นจากการลงโทษ และสามารถเผยแผ่คริสต์ศษสนาตามแนวทางของเขา
โดยการแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาเยอรมันและแยกเป็นนิกายใหม่ เรียกว่า “โปรเตสแตนต์”
(Protestant)
การประกาศแยกตัวของกลุ่มโปรเตสแตนด์ในดินแดนเยอรมณีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อพัฒนาการของยุโรป
คือ เกิดการแตกแยกของศาสนาคริสต์ และการพัฒนารัฐชาติในยุโรป
ความแตกแยกของศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์ถูกแบ่งแยกเป็น 2 นิกายใหญ่คือ
1 นิกายโรมันคาทอลิกซึ่งมีสันตะปาปาเป็นประมุข
มีศูนย์กลางอยู่ที่นครรัฐวาติกันในกรุงโรม และยังคงแพร่หลายในดินแดนฝรั่งเศส สเปน
และโปรตุเกส
2 กลุ่มต่อต้านอำนาจของสันตะปาปา
เรียกว่าพวกโปรเตสแตนต์ ซึ่งแตกออกเป็นนิกายย่อยๆ จำนวนมาก ที่สำคัญ ได้แก่
นิกายลูเธอร์ (Lutheranism) ซึ่งแพร่หลายในดินแดนเยอรมณีและยึดถือแนวคิดของมาร์ติน
ลูเธอร์ นิกายแองกลิคัน (Anglican Church) หรือนิกายอังกฤษ (Church of
England) ซึ่งแพร่หลายในเกาะอังกฤษ และนิกายแคลวิน (Calvinism)
ซึ่งแพร่หลายในสวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ บางส่วนของเนเธอร์แลนด์
เยอรมณี และโปแลนด์ การที่ศษสนาคริสต์แตกแยกเป็นหลายนิกาย ทำให้แต่ละนิกายแข่งขันกันเผยแผ่ศาสนาตามความเชื่อของตนในดินแดนต่างๆ
นอกทวีปยุโรป เช่น อเมริกา เอเชีย และแอฟริกา
มาร์ติน ลูเธอร์ ชาวเยอร์มัน ผู้ซึ่งริเริ่มการปฎิวัติ
เพื่อทำให้คริสตศาสนาที่เขาศรัทธา กลับมาศักดิ์สิทธิ์ดั่งเดิม
การปฏิรูปศาสนานิกายโปเตสสแตน (Protestant Reformation)
การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์
เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16
และเสร็จสิ้นลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กระแสใหญ่ๆคือ
·
การปฏิรูปภายนอก ที่แบ่งศาสนาคริสต์ออกเป็น
2 นิกายคือ โรมันคาทอลิก และโปรเตสแตนต์
·
การปฏิรูปภายใน ที่แก้ไขความเสื่อมโทรมของศาสนา และสถาบันสันตะปาปา เพื่อต่อสู้ไม่ให้ชาวยุโรปหันไปนิยม นิกายโปแตสแตนต์ที่เกิดขึ้นใหม่
การทำสัตยาบันในสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย
จุดเริ่มต้นขบวนการปฏิรูปศาสนา
ผลงานวิทยานิพนธ์ “เทวนคร” (City of God)ของออกัสตินแห่งฮิปโป
ที่เป็นแรงบันดาลใจในหมู่นักปฏิรูปขบวนการฮุสไซท์ (The Hussites) กลุ่มผู้ติดตามจอห์น ฮุส (John
Huss) ชื่อหลักการ Utraquism คือ
ฆราวาสมีสิทธิเช่นเดียวกับสงฆ์ในพิธีรับศีลมหาสนิท ที่จะรับทั้งขนมปังและเหล้า
โดยในสมัยนั้นฆราวาสจะรับได้เพียงขนมปังและน้ำเท่านั้น
ซึ่งเบื้องหลังคือการกดดันให้สถาบันสันตะปาปา และคณะกรรมาธิการศาสนา (Council
Authority) ยอมรับว่าทั้งบรรพชิตและฆราวาสนั้นเท่าเทียมกัน
และพระคัมภีร์เท่านั้นที่มีอำนาจสูงสุดในศาสนกิจ
โดยภายหลังการปฏิรูปศาสนากลุ่มฮัสไซท์ได้เข้ารวมกับพวกติดตามลูเทอร์
ขบวนการลอล์ลาร์ด (The Lollard Movement) ของจอห์น
ไวคลิฟฟ์ (John Wycliffe) ที่เน้นการปรับปรุงศาสนาให้เข้ากับความต้องการของสามัญชน
เน้นการเทศนาสั่งสอนมากกว่าการรับศีล ต่อต้านการสารภาพบาป
การสวดมนต์ให้แก่ผู้สิ้นชีวิตแล้ว การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ
การเชื่อเครื่องรางของขลัง และเริ่มการใช้คัมภีร์ไบเบิลที่แปลเป็นภาษาพื้นเมือง
เพื่อให้ชาวบ้านได้ศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตนเองแทนการพึ่งพิงพระที่ใช้พระคัมภีร์ภาษาละติน
โดยขบวนการลอล์ลาร์ดนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการปฏิรูปศาสนาระยะแรกภายใต้มาร์ติน
ลูเทอร์
*** ดังนั้นพบว่าขบวนการปฏิรูปศาสนานั้นได้มีการเริ่มมาจากความไม่พอใจของสงฆ์ที่มีธรรมะ
และสามัญชนที่ผิดหวังในสถาบันศาสนา ประกอบกับมีการผันแปรทางการเมือง
ทัศนคติทำให้ผู้ที่ปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมในศาสนากล้าที่จะประกาศตนออกจากสถาบันศาสนา
โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อชะตากรรมแบบ “ลอยแพ” ของสังคมในยุคกลางอีกต่อไป ***
การปฏิรูปศาสนา Reformation ในเยอรมนีโดย
มาติน ลูเธอร์ ฉบับย่อ
การปฏิรูปศาสนา Reformation
เกิดขึ้นในเยอรมนีในตอนต้นศตวรรษที่ 16
โดยนักมนุษยนิยม ที่ไม่พอใจต่อบทบาทของศาสนจักร
การปฏิรูปศาสนามีผลทำให้สิ้นสุดความเป็นเอกภาพทางศาสนา
·
สาเหตุทางการศาสนา
1. ความเสื่อมของศาสนจักรในปลาย ศตวรรษที่
14 ถึงตอนต้นศตวรรษที่ 15
2. พระมีความมั่งคั่งร่ำรวย
มีที่ดินมากเกินไป พระประพฤติผิดศีลธรรมไม่เคร่งครัด
3. การไม่พอใจในการซื้อตำแหน่งของพระ
พระที่ได้รับตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไม่สมบูรณ์
4. มุ่งพิธีกรรมมากเกินไป พระเรียกเก็บเงินที่ได้จากการประกอบพิธีทางศาสนามากเกินไป
5. การขายไถ่บาป
ซึ่งเป็นการค้ามากกว่าศรัทธา
·
สาเหตุทางการเมือง
1. สันตะปาปาสนใจเรื่องทางโลกมากกว่าทางศาสนา
เช่นเป็นผู้นำทัพเข้าสู่สงคราม
2. กษัตริย์ต้องการขจัดอำนาจอิทธิพลของสันตะปาปา
เพื่อหาผลประโยชน์จากที่ดินของวัด
·
สาเหตุทางเศรษฐกิจ
1. ชนชั้นกลางให้การสนับสนุนการปฏิรูปศาสนา
เพื่อยกเลิกระเบียบต่าง ๆ ที่ล้าสมัยให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสมัยใหม่
2. สันตะปาปาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
ทำให้ปนระชาชนไม่พอใจ
·
ด้านแนวคิด
1. เกิดแนวคิดแบบมนุษยนิยม (Humanism)
กล้าแสดงความคิด กล้ากระทำในสิงที่เห็นว่าเหมาะสม
2. แนวคิดแบบปัจเจกชน (Individualism)
ต้องการมีอิสระสภาพ แสวงหาความจริงด้วยสติปัญญาของตนเอง
ไม่ใช้การชี้นำของศาสนา
3. ผลจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของจอห์น
กูเตนเบอร์ก สิ่งพิมพ์ทั้งหลายและคำภีร์ไบเบิลถูกเผยแพร่ไปสู่ประชาชน
ทำให้ประชาชนมีความคิดและวิจารณญาณมากขึ้น
สาเหตุปัจจุบันจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาของมาติน
ลูเธอร์
1. การเรียกเก็บเงินจากสันตะปาปาลีโอที่ 10
โดยการขายใบบุญไถ่บาปเพื่อนำไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
2. ลูเธอร์ เขียนคำประท้วง 95
ข้อ ( The 95 Theses) เพื่อชี้ให้เห็นว่า
ไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี
ให้สถาปนาเยอรมนีเป็นศูนย์กลางทางศาสนา
3. สันตะปาปาประกาศบัพพาชณียกรรมลูเธอร์
4. พระเจ้าชาร์ลที่ 5
แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ลงโทษลูเธอร์
แต่ลูเธอร์ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าชายเฟเดอร์ริค และผู้ครองแคว้นอื่น ๆ
ของเยอรมันนี
หลักการของลูเธอร์
1. การช่วยเหลือให้พ้นภัยโดยความศรัทธา
ไม่ใช่อาศัยการทำงาน พระเจ้ากระทำทุกอย่างถูกต้องดีงาม อันจะนำมนุษย์ไปสู่ความสุข
2. มนุษย์สามารถศึกษาคำภีร์ไบเบิลได้ด้วยตนเอง
ไม่จำเป็นต้องมีพระเป็นสื่อกลางเชื่อมระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์
3. ทุกคนที่เชื่อในพระเจ้าถือว่าเป็นพระโดยไม่จำเป็นต้องบวชหรือเข้าวัด
ลูเธอร์ประกาศลัทธิลูเธอแรน (Lutherianism) ในปี
ค.ศ.1530
ลัทธิต่อต้านศาสนาที่โรม เรียกว่า Protesstant แนวความคิดถูกแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว
และเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาไปทั่วยุโรป
ปฏิกิริยาตอบโต้ของศาสนจักรโรมันคาธอลิก
1. การจัดตั้งสมาคมเยซูอิทซ์
ให้ศึกษาให้แก่บุตรหลานชาวคาธอลิก เพื่อจะได้ไม่เปลี่ยนไปเป็น Protesstant
2. การจัดตั้งศาลพิเศษทางศาสนา
เพื่อต่อต้านการกระทำของพวกนอกรีต มีการลงโทษอย่างรุนแรง เช่นการเผาทั้งเป็น
3. การประชุมทางศาสนาที่เมืองเทรนท์
มีผลดังนี้คือ
-
สันตะปาปาคือประมุขของศาสนา
-
คำภีร์ไบเบิลต้องเขียนเป็นภาษาละติน
-
ห้ามขายตำแหน่งทางศาสนาและห้ามขายใบไถ่บาป
-
ไม่ให้คนที่ไม่มีความรู้มารับตำแหน่งราชาคณะ
-
ขึ้นบัญชีหนังสือต้องห้ามซึ่งเป็นของพวกนอกศาสนา
หนังสือต้องห้ามจะถูกทำลาย ผู้แต่งจะถูกเผาทั้งเป็น
ผลของการปฏิรูปศาสนา
· ทางการเมือง
การปฏิรูปศาสนาได้ทำให้พวกที่ไม่ต้องการระเบียบแบบแผน และพวกที่มีความคิดเห็นรุนแรงทางศาสนาก่อการจลาจลวุ่นวายขึ้นเรียกว่า "กบฏชาวนา" ในปี ค.ศ. 1525 ที่โบฮีเมีย มีทั้งกลุ่มอัศวินต่อสู้กับเจ้านายของตน และพวกชาวนาที่ก่อการปฏิวัติต่อเจ้าของที่ดินโดยต่างยื่นข้อเสนอเรียกร้องสิทธิของตน และกำหนดกฎเกณฑ์เอาตามใจชอบ บ้างก็ขอเสรีภาพในการถือศาสนา ดังนั้นลูเทอร์จึงได้ลุกขึ้นมาสอนให้ประชาชนเคารพประมุข และกฎหมายของรัฐ และต่อต้านการจลาจล โดยถือว่าประมุขของรัฐมีอำนาจอันชอบธรรมในสายตาของศาสนา ที่จะดำเนินการเด็ดขาดกับขบวนการเหล่านี้ เพราะฉะนั้นคำสอนของลักธิลูเทอรันส่งเสริมอำนาจชนชั้นปกครอง
· ทางศาสนา
เกิดการปฏิรูปศาสนาไปทั่วยุโรปโดยแบ่งออกเป็น
1. แยกนิกายเป็น โปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิก
2. การปฏิรูปภายในนิกายโรมันคาทอลิกเอง เช่น เกิดคณะเยสุอิต (The Jesuits) ที่เน้นการศึกษาวิทยาการใหม่เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สภาสังคายนาแห่งเทรนต์ (1545-1563) ซึ่งต้องการแก้ไขข้อติดเตียนของขบวนการปฏิรูปศาสนาโปรเตสแตนต์ทั้งหมด แต่ยังเชื่อว่าสิทธิอำนาจมาจากพระคัมภีร์และขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่คริสตจักรได้รับสืบทอดมาจากเปโตร และยอมรับอำนาจของสันตะปาปาว่ายังมีอยู่ ผลการปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้สามารถป้องการการขยายตัวของความนิยมในนิกายโปรเตสแตนต์อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าสันตะปาปาต้องเสียอำนาจในยุโรปไปมาก แต่ก็ยังสามารถรักษาอิทธิพลทางจิตใจเหนือประชากรจำนวนมากของโลกตะวันตกไว้ได้ และสามารถฟื้นฟูความศักดิ์สิทธิของโรมได้จนถึงปัจจุบัน